คอนแทคเลนส์ทำมาจากอะไร?

คำตอบโดยรวมคือทำมาจาก "โพลีเมอร์" หรือเอาง่ายๆว่าเป็นพลาสติกชนิดหนึ่งที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพก็ได้ค่ะ

สมัยก่อนคอนแทคเลนส์จะเป็นแบบ Hard lens หรือคอนแทคเลนส์แบบแข็งนั่นเอง วัสดุที่ใช้จะเป็น polymethyl methacrylate (PMMA) ซึ่งคุณภาพไม่ค่อยดีเท่าไหร เนื่องจากความไม่สบายตา และขาดง่าย


ในปัจจุบันที่เราใช้กันอยู่เรียกว่า Soft lens วัสดุที่ใช้จะเปลี่ยนเป็น poly hydroxyethyl methacrylate (pHEMA) ซึ่งมีคุณสมบัติในการอมน้ำ ทำให้เราใส่ได้ นิ่มสบายตาขึ้นค่ะ

 

ค่าต่างๆข้างขวดคอนแทคเลนส์ คืออะไรบ้าง?

ค่าอมน้ำ (Water Content) = ปริมาณน้ำในตัวคอนแทคเลนส์ หรือปริมาณน้ำที่มันจะอมไว้ได้น่ะค่ะ ถ้ามีค่าอมน้ำสูง ออกซิเจนก็จะไหลผ่านได้ดี ทำให้ใส่แล้วสบายตา แต่เลนส์ที่มีค่าอมน้ำสูง จะบอบบางกว่าและรักษาความสะอาดยากกว่า ลองสังเกตดูเลนส์รายเดือนหรือรายวัน จะมีค่าอมน้ำสูงประมาณ 59% ถึง 66% เลยก็มี แต่เลนส์รายปี จะมีค่าอมน้ำที่น้อยกว่า คือประมาณ 38% ถึง 42% นั้นก็ทำให้เลนส์รายปีมีอายุใช้งานที่นานกว่า และรักษาความสะอาดง่ายกว่าค่ะ

Base Curve (BC.) ความโค้ง = ความโค้งของคอนแทคเลนส์ ที่เห็นทั่วไปจะมี 8.4 - 8.8 ถ้าใส่แล้วมันหลวมไป ต้องเปลี่ยนเป็นเลขที่น้อยลง หรือถ้าใส่แล้วเลนส์คับไป ต้องเลือกเลนส์ที่ BC มากขึ้นค่ะ

Diameter เส้นผ่านศูนย์กลางความกว้าง = ตัวนี้จะบอกความใหญ่ของคอนแทคเลนส์ค่ะ ยิ่งมากก็ยิ่งวงใหญ่มาก แต่ะไม่ได้หมายความว่าใส่แล้วจะตาโตกว่าเสมอไป เพราะการดูขนาดความโต เราต้องวัดกันที่ลาย ไม่ใช่ที่ตัวเลนส์ค่ะ



สิ่งที่ต้องรู้เมื่อจะซื้อ คอนแทคเลนส์
 
คอนแทคส์เลนส์ ชนิด  Disposable หมายถึง คอนแทคส์เลนส์ที่ใช้แล้วไม่ต้องล้างเลยใช้แล้วถอดทิ้งเหมือนเราใช้กระดาษทิชชู
  
 
คอนแทคส์เลนส์ ชนิด  Planned  Replacement หมายถึงเลนส์ที่ใช้แล้วใช้ซ้ำอีกได้ แต่ต้องเปลี่ยนบ่อยๆ มีอายุการใช้งานค่อนข้างสั้น ทุก 2-4 สัปดาห์
  
 
คอนแทคส์เลนส์ ทั้งสองประเภท เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น เรื่อยๆมีความเข้าใจผิดของผู้ใช้อยู่เสมอว่า  คอนแทคส์เลนส์ พวกนี้เป็นคอนแทคส์เลนส์ Free size ดังนั้นเมื่อไปหาซื้อเลนส์ ผู้ใช้มักบอกคนขายแต่เพียงว่า ต้องการ ACUVUE เบอร์  -3.00 หรือ ต้องการ FOCUS เบอร์ -4.75 เท่านั้น  และ คนขายก็มักหยิบคอนแทคส์เลนส์ มาให้ได้เสียด้วย ที่จริงแล้ว บนหน้าซองบรรจุคอนแทคส์เลนส์ คุณจะเห็นว่านอกจากค่ากำลังของเลนส์ หรือ power -3.00 D หรือ -4.75D  แล้วยังมี ตัวอักษร B.C. 8.8 หรือ B.C. 8.6  กำกับมาด้วย  ให้คุณแน่ใจได้เลยว่า นั่นย่อมไม่ได้หมายความว่าคอนแทคส์เลนส์ ชิ้นนั้นผลิตขึ้นก่อนคริสตกาล  แต่มันสำคัญอย่างไรด้วยหรือ  หรือฝรั่งทำเกินมา เฉยๆค่ะ
 
 
B.C. ย่อมาจาก Base Curve หมายถึง รัศมีความโค้งด้านหลัง ของคอนแทคส์เลนส์ ชิ้นนั้น ซึ่งเป็นด้านจะต้องสัมผัสกับดวงตาของเรา คอนแทคส์เลนส์ ที่มี 8.8 มิลลิเมตร หมายถึง คอนแทคส์เลนส์ ชิ้นนั้น แบนกว่าคอนแทคส์เลนส์ ที่มี  B.C. 8.4 มิลลิเมตรซึ่งจะทำให้ เลนส์ 8.4 ติดแน่น บีบรัดดวงตามากกว่า ส่วนเลนส์ 8.8 จะรู้สึกหลวมเลื่อนได้มากกว่า เมื่อคุณซื้อ คอนแทคส์เลนส์ คุณอาจเพิ่มหรือลด กำลังของเลนส์ได้ตามใจชอบ เช่น อยากให้ภาพคมชัดขึ้นอาจลองซื้อเลนส์กำลังสูงขึ้นสัก 0.25 แต่ถ้าใส่แล้วไม่ชอบใจ อยากใส่ให้ภาพนุ่มนวลลงก็อาจซื้อคอนแทคส์เลนส์ อ่อนลงสัก 0.25 ได้ไม่เสียหายอะไรนอกจากรู้สึกมึนๆนิดๆ แต่การเปลี่ยนค่า Base Curve ขอให้เป็นหน้าที่ของจักษุแพทย์เพราะการใส่เลนส์คับหรือหลวมเกินไปอาจเป็นอันตรายได้ ควรซื้อคอนแทคส์เลนส์ Base Curve เดิมเสมอ ห้ามเปลี่ยนเอง
 
 
 
อันตรายจากการใช้ 'คอนแทคเลนส์แฟชั่น'
 
 
คอนแทคเลนส์หรือ เลนส์สัมผัสจัดเป็นเครื่องมือแพทย์ชนิดหนึ่งที่ใช้เพื่อปรับสายตา แต่ในปัจจุบันได้มีการนำเอาคอนแทคเลนส์มาใช้สวมใส่เพื่อความสวยงาม ซึ่งมีทั้งแบบที่ทำให้ดวงตาดูกลมโตขึ้น และแบบที่ช่วยเปลี่ยนสีตาเป็นสีต่าง ได้
 
กระแสคอนแทคเลนส์แฟชั่นได้แพร่ระบาดเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อประมาณต้นปี 2549 ที่ผ่านมา โดยวัยรุ่นไทยนิยมใส่คอนแทคเลนส์แฟชั่นเพื่อให้ตา กลมโตเลียนแบบดาราเกาหลี และญี่ปุ่น  
 
คอนแทคเลนส์แฟชั่นดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันดีในนาม บิ๊กอายส์ หรือ คอนแทคเลนส์ตาโต ราคาก็มีตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักพัน ระยะเวลาการใช้งานก็มีให้เลือกหลากหลาย ตั้งแต่ 1 เดือนไปจนถึง 1 ปี  
 
แต่ไม่ว่าจะใช้คอนแทคเลนส์เพื่อวัตถุประสงค์ใดก็ตาม เลนส์ที่ใช้จะต้องสัมผัสกับผิวของดวงตาที่บอบบาง การติดเชื้อหรือฉีกขาดอาจเกิดได้ง่าย จึงต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ
 
การใช้คอนแทคเลนส์หากใช้ไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสม อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ และอาจรุนแรงถึงขั้นตาบอดได้ เหมือนกับข่าวเมื่อปลายปี 49 ที่ผ่านมา ที่มีชายชาวนิวซีแลนด์ที่ตาบอดจากการสวมใส่คอนแทคเลนส์แฟชั่นเพื่อความสนุกสนานในงานปาร์ตี้ จนเกิดการติดเชื้อหลังสวมใส่คอนแทคเลนส์นาน 3 วัน
 
ทั้งนี้การใส่คอนแทคเลนส์จะต้องได้รับการตรวจตาโดยจักษุแพทย์ หรือผู้ประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์ โดยผู้สวมใส่จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของจักษุแพทย์ หรือนักทัศนมาตรศาสตร์ หรือคำแนะนำบนฉลากอย่างเคร่งครัด
 
นอกจากนี้ อย. ยังได้กำหนดให้ฉลากของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว จะต้องมีคำเตือน ข้อห้ามใช้ และข้อควรระวังต่าง บนฉลากอย่างชัดเจน
 
สิ่งที่สำคัญที่ต้องระลึกถึงอยู่เสมอคือเรื่องสุขลักษณะ ต้องล้างมือให้สะอาดและทำให้แห้งก่อนสัมผัสเลนส์ การสวมและการเปลี่ยนเลนส์ก็ให้เป็นไปตามระยะที่กำหนด การล้างและการเก็บรักษาเลนส์ก็ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ส่วนภาชนะที่เก็บเลนส์ก็ต้องรักษาให้สะอาดอยู่เสมอ  
 
ห้ามใช้คอนแทคเลนส์ร่วมกับบุคคลอื่น ห้ามใส่ขณะว่ายน้ำเพราะอาจทำให้ติดเชื้อที่ตา และห้ามใส่เวลานอน ถึงแม้ว่าจะเป็นชนิดใส่นอนได้ก็ตาม และต้องถอดทำความสะอาดทุกวัน  
 
หากมีอาการผิดปกติ เช่น เจ็บหรือปวดตาเป็นอย่างมาก ร่วมกับอาการแพ้แสง ตามัวลง น้ำตาไหลมาก ตาแดง ให้หยุดใช้คอนแทคเลนส์ทันที และให้รีบไปพบแพทย์หรือจักษุแพทย์โดยเร็ว...